วิชา ว ๓๑๑o๑ ฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ภาคเรียนที่ ๑
จำนวน ๘o ชั่วโมง/ภาคเรียน จำนวน ๒.o หน่วยกิต
********************************************************************************
ศึกษา วิเคราะห์ วิธีการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แนวตรง การเคลื่อนที่ แบบต่าง ๆ เช่น การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ การเคลื่อนที่แบบวงกลม และการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิก อย่างง่าย สนามของแรง สนามแม่เหล็ก สนามไฟฟ้า สนามโน้มถ่วง คลื่นกล องค์ประกอบของคลื่น สมบัติของคลื่น เสียงและการได้ยิน และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า กัมมันตภาพรังสี รังสีกับมนุษย์และพลังงานนิวเคลียร์ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และภูมิปัญญาท้องถิ่น
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูลและการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม
รหัสตัวชี้วัด ว ๔.๑ ม. ๔–๖/๑, ๒, ๓, ๔
ว ๔.๒ ม.๔–๖/๑, ๒, ๓
ว ๕.๑ ม.๔–๖/๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙
สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม มัธยมศึกษาตอนปลาย
คำอธิบายรายวิชา
วิชา ว ๓๑๒o๑ ฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ภาคเรียนที่ ๒
จำนวน ๖o ชั่วโมง/ภาคเรียน จำนวน ๑.๕ หน่วยกิต
********************************************************************************
ศึกษาวิเคราะห์ ธรรมชาติของฟิสิกส์ การค้นคว้าหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และขอบเขตวิชาฟิสิกส์ ปริมาณกายภาพ ปริมาณเวกเตอร์และสเกลาร์ ระบบหน่วยระหว่างชาติ การวัดและเครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์ การแปลความหมายข้อมูล การเคลื่อนที่แนวตรง ระยะทางการเคลื่อนที่ อัตราเร็วของวัตถุ การวัดอัตราเร็วของการเคลื่อนที่ในแนวตรง การบอกตำแหน่งของวัตถุสำหรับการเคลื่อนที่แนวตรง การกระจัด ความเร็ว ความเร่ง ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็ว – เวลา กับระยะทางสำหรับการเคลื่อนที่ในแนวตรง สมการสำหรับคำนวณหาปริมาณต่าง ๆ ของการเคลื่อนที่แนวตรงด้วยความเร่งคงตัว แรง มวลและกฏการเคลื่อนที่ แรง กฎการเคลื่อนที่ข้อที่หนึ่งของนิวตัน มวล กฎการเคลื่อนที่ข้อที่สองของนิวตัน น้ำหนัก กฎแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน กฎการเคลื่อนที่ข้อที่สามของนิวตัน สมดุลกล สมดุลกล สมดุลต่อการเลื่อนตำแหน่ง แรงเสียดทาน ศูนย์กลางมวลและศูนย์ถ่วง สมดุลต่อการหมุน สมดุลสัมบูรณ์ เสถียรภาพของสมดุล การนำหลักการของสมดุลไปประยุกต์ การใช้กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบค้นข้อมูลอภิปราย การสำรวจตรวจสอบ วิเคราะห์ ทดลอง เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่ง
ที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม
รหัสตัวชี้วัด ว ๔.๑ ม.๔-๖/๑
ว ๕.๑ ม.๔-๖/๑, ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑o, ๑๑, ๑๒
คำอธิบายรายวิชา
วิชา ว ๓๒๒o๒ ฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ภาคเรียนที่ ๑
จำนวน ๖o ชั่วโมง/ภาคเรียน จำนวน ๑.๕ หน่วยกิต
********************************************************************************
ศึกษา วิเคราะห์ งานและพลังงาน การหางานด้วยวิธีคำนวณจากพื้นที่ใต้กราฟ กำลัง พลังงานจลน์ พลังงานศักย์โน้มถ่วง พลังงานศักย์ยืดหยุ่น กฎการอนุรักษ์พลังงาน การใช้พลังงาน ทำงานของเครื่องกล การได้เปรียบเชิงกล การชนและโมเมนตัม แรงและการเปลี่ยนโมเมนตัม การดลและแรงดล การชน กฎอนุรักษ์โมเมนตัม คลื่นในเส้นเชือก คลื่นผิวน้ำ การซ้อนทับของคลื่น สมบัติของคลื่น ธรรมชาติและสมบัติของเสียง ปรากฏการณ์บางอย่างของเสียง ความเข้มเสียงและระดับความเข้มเสียง การได้ยิน การนำความรู้เรื่องเสียงไปใช้ประโยชน์ คลื่นแสง ปรากฏการณ์บางอย่างทางแสง ภาพที่เกิดจากกระจกและเลนส์ ทัศนอุปกรณ์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้มีความสามารถในการตัดสินใจ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม
รหัสตัวชี้วัด ว ๔.๑ ม.๔-๖/๒, ๓
ว ๕.๑ ม.๔-๖/๒, ๓
คำอธิบายรายวิชา
วิชา ว ๓๒๒o๓ ฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ภาคเรียนที่ ๒
จำนวน ๖o ชั่วโมง/ภาคเรียน จำนวน ๑.๕ หน่วยกิต
********************************************************************************
ศึกษาวิเคราะห์ ประจุไฟฟ้า ตัวนำและฉนวน การเหนี่ยวนำประจุไฟฟ้าและการทำให้วัตถุมีประจุ แรงระหว่างประจุและกฎของคูลอมบ์ สนามไฟฟ้า เส้นแรงไฟฟ้า ศักย์ไฟฟ้า ตัวเก็บประจุและความจุไฟฟ้า การประยุกต์ความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าสถิต แรงเคลื่อนไฟฟ้าและแหล่งกำเนิดไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้า การนำไฟฟ้า กฎของโอห์ม สภาพต้านทานและสภาพการนำไฟฟ้า ผลของอุณหภูมิที่มีต่อความต้านทาน แรงเคลื่อนไฟฟ้า การต่อตัวต้านทาน การต่อเซลล์ไฟฟ้า แอมมิเตอร์ โวลต์มิเตอร์ และโอห์มมิเตอร์ แหล่งกำเนิดไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้าและกำลังไฟฟ้า วงจรไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านแบบต่าง ๆ แม่เหล็กและสนามแม่เหล็ก แรงกระทำต่ออนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า ซึ่งเคลื่อนที่ในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก สนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าผ่านลวดตัวนำ แรงระหว่างลวดตัวนำสอง เส้นขนานกันที่มีกระแสไฟฟ้า โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูล และการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถ ในการตัดสินใจ นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยม ที่เหมาะสม
รหัสตัวชี้วัด ว ๔.๑ ม.๔-๖/๒, ๓
ว ๕.๑ ม.๔-๖ /๔, ๕
คำอธิบายรายวิชา
วิชา ว ๓๓๒o๔ ฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ภาคเรียนที่ ๑
จำนวน ๖o ชั่วโมง/ภาคเรียน จำนวน ๑.๕ หน่วยกิต
********************************************************************************
ศึกษาวิเคราะห์ ปรากฏการณ์ธรรมชาติของไฟฟ้า ประจุไฟฟ้า กฎการอนุรักษ์ประจุไฟฟ้า การเหนี่ยวนำไฟฟ้า แรงระหว่างประจุและกฎของคูลอมบ์ สนามไฟฟ้า เส้นแรงไฟฟ้า ศักย์ไฟฟ้า ตัวเก็บประจุและความจุ การนำความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้าสถิตไปใช้ประโยชน์ กระแสไฟฟ้า ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ พลังงานในวงจรฟ้า การต่อตัวต้านทานและแบตเตอรี่ การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้ากระแสตรงเบื้องต้น เครื่องวัดไฟฟ้า ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก การประยุกต์ผลของสนามแม่เหล็กต่อตัวนำที่มีกระแสไฟฟ้าผ่านกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำและแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หม้อแปลง ค่าของปริมาณที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้ากระแสสลับ การคำนวณหาพลังงานไฟฟ้าของเครื่องใช้ภายในบ้าน วงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน และการใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูล และการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจและนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม
รหัสตัวชี้วัด ว ๔.๑ ม.๔-๖/๒, ๓
ว ๕.๑ ม.๔-๖/๔, ๕
คำอธิบายรายวิชา
วิชา ว ๓๓๒o๕ ฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ภาคเรียนที่ ๒
จำนวน ๖o ชั่วโมง/ภาคเรียน จำนวน ๑.๕ หน่วยกิต
********************************************************************************
ศึกษาวิเคราะห์ ทฤษฎีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของแมกซ์เวลล์และการทดลองของเฮิรตซ์ การแผ่คลื่นแม่เหล็กจากสายอากาศ สเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โพลาไรเซชันของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า อะตอม การค้นพบอิเล็กตรอน แบบจำลองอะตอมของทอมสัน การทดลองของรัทเทอร์ฟอร์ด การทดลองด้านสเปกตรัม ปรากฏการณ์โฟโตอิเลคตริก ทฤษฎีอะตอมของโบร์ การทดลองของฟรังก์และเฮิรตซ์ รังสีเอกซ์ ความไม่สมบูรณ์ของทฤษฎีอะตอมของโบร์ ทวิภาพของคลื่นและอนุภาค กลศาสตร์ควอนตัม เลเซอร์ ตัวนำ กึ่งตัวนำและฉนวน การพบกัมมันตภาพรังสี การเปลี่ยนสภาพนิวเคลียส การสลายของนิวเคลียสกัมมันตรังสี ไอโซโทป เสถียรภาพของนิวเคลียส ปฏิกิริยานิวเคลียร์ ประโยชน์ของกัมมันตภาพรังสีและพลังงานนิวเคลียร์ กัมมันตภาพรังสีในธรรมชาติ อันตรายจากกัมมันตภาพรังสีและการป้องกัน วัสดุอิเล็กทรอนิกส์และการใช้งานทางวิทยาศาสตร์ วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ใช้สำหรับเป็นรับรู้ วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ใช้สำหรับการวิเคราะห์และตัดสินใจ วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ใช้ในการควบคุม ตัวอย่างการนำความรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ไปใช้งานทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูล และการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจและนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรมและ ค่านิยมที่เหมาะสม
รหัสตัวชี้วัด ว ๔.๑ ม.๔-๖
ว ๕.๑ ม.๔-๖ /๕, ๖, ๗, ๘, ๙
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น